วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ชายผู้สร้างชีวิตให้ Haier

 

                บทความชุดนี้เป็นบทความที่ส่งผ่านความคิดและความรู้จากหนังสือ “สุดยอดปรัชญาชีวิต” ของ goodluck publishing หนังสือเล่มเล็ก เพียง 138 หน้า แต่ความรู้ไม่เล็กเลยทีเดียว หากได้ลองอ่านเเล้วจะได้ทั้งความคิดของผู้บริหารระดับโลกรวมถึงมีแรงพลักดันที่ให้ ความรู้สึกว่า”คนธรรมดาอย่างเราก็ไปถึงจุดนั้นได้”  และในวันนี้เองเพื่อเป็นการแบ่งปันความคิดดีๆ จากหนังสือเล่มนั้น ผมจึงได้นำเสนอบทความนี้ขึ้นมา เพื่อเป็นหนทางแก่บล๊อกเกอร์ทุกคน แม้จะไมม่ตรงกับธุรกิจของเราโดยตรงแต่อ่านไว้ก็ไม่เสียหาย

 

hair1

               ย้อนอดีตไปในปี 1894 จาง รุ่ย หมิน ได้เข้ารับตำแหน่งผู้บริหาของบริษัท”Haier” บริษัทอิเล็กทรอนิคของประเทศจีน ซึ่ง  ณ  ขณะนั้น ตามหนังสือกล่าวว่า เป็นตำแหน่งที่ไม่มีใครต้องการ เพราะบริษัท ถูกประเมินว่า เป็นบริษัทที่มีคุณภาพต่ำ พนักงานขาดระเบียบวินัย  สินค้าไม่มีคุณภาพ บริษัทใกล้ล้มละลาย

แต่ทว่า ตำนานกำลังเริ่มต้นต่อจากนี้

จาง รุ่ย หมิน ได้กล่าวให้โอวาทแก่พนักงานในวันเข้ารับต่ำแหน่งว่า “สินค้าของเขาจะไม่มีเกรด a,b,c,d จะมีเพียงคุณภาพ ที่ผ่านเกณฑ์หรือไม่ผ่านเกณฑ์เท่านั้น” เขาได้ทำลายตู้เย็น Haier ที่ไม่มีคุณภาพ 76 ตู้ในวันนั้น และกล่าวกับพนักงานที่จะร่วมทุกข์ร่วมสุขกันว่า

“พวกเราจะต้องทำตู้เย็นไฮเอร์ที่ได้รับการดูถูกมาตลอด เป็นยี่ห้อของจีนที่มคุณภาพต่ำ ให้กลายมาเป็นสินค้าคุณภาพระดับสากลให้ได้.”

กลยุทธ์ OEC

            กลยุทธ์แรกที่เขานำมาจัดการกับพนักงานที่ทำงานไปวันๆ ก็คือ โออีซี(OEC) over-all every control and clear กล่าวคือหนักงานทุกคนมีสิทธิ์ตรวจสอบในทุกขั้นตอนการผลิต โดยมีหลักการ ซู่โฉว-ซู่เผย คือ พนักงานคนใดทำดีจะได้รับการตอบแทน พนักงานคนใดทำพลาดจะต้องชดใช้ โดยพนักงานที่ได้รับงานต่อจากคนก่อนหน้าจะต้องตรวจสอบความถูกต้องให้เรียบร้อยเสียก่อน หากมีงานเสียก่อนหน้าให้แจ้ง โดยพนักงานคนใดที่ทำพลาดในการผลิตจะต้องโดนตัดเงินเดือน 20 เปอร์เซนต์ รวมถึง หัวหน้าก็ต้องโดนหักเงินเดือน 80 เปอร์เซนต์ การยึดหลักนี้ทำให้หนักงานต่างเกิดความกระตือรือร้นในการทำงานตรวจสอบซึ่งกันและกัน จนเกิดผลผลิตที่มีคุณภาพสู่ท้องตลาด

กลยุทธ์ การยอมรับจากตลาดบน

            กลยุท์ต่อมาหลังจากพัฒนาพนักงานให้เกิดการตรวจสอบ แข่งขัน จนได้สินค้าคุณภาพดีออกมาจากโรงงานแล้วนั้น สิ่งต่อมาก็คือ การหาตลาดรองรับสินค้า ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลย อย่างที่ทราบกันดีคือ บริษัท Haier ติดอยู่ใน Blacklist บริษัทไร้คุณภาพ  เขาจึงคิดว่าควรจะสร้างการยอมรับจากตลาดบนก่อนแล้วค่อยลงมายังตลาดล่าง โดยแผนงานที่ดำเนินไปคือ ไปลงทุนใน สหรัฐอเมริกา มีโรงงานอยู่ เซาท์แคโรไรนา งานออกแบบที่ลอสเองเจลลิส และ มีศูนย์จำหน่ายสินค้าที่นิวยอร์ค ซึ่งเหตุจากการณ์ผลิตในอเมริกานี่เอง ทำให้ได้ตราประทับเป็น Made in America ซึ่งจำหน่ายสินค้ากินผู้คนระดับพรีเมียม ซึ่งภายหลังจากการยอมรับตลาดบนเเล้ว พอคนจดจำชื่อแบรด์ได้ ตลาดล่างก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อ

กลยุทธ์ Just-in-time Purchasing

            จัดทำสินค้าให้พอดีกับการสั่งสินค้า เพื่อลดปริมาณการผลิตส่วนเกินที่จะเหลือคงคลังน้อยที่สุดให้สต๊อกเป็นศูนย์ สิ่งดีที่ได้ตามมาคือการ ไม่ต้องมีโกดังในการจัดเก็บสินค้า สิ่งที่จะทำให้กลยุทธ์แบบนี้ประสบความสำเร็จลุล่วงก็คือ การคาดคะเนการขายสินค้า,การตลาด,การผลิต,การขนส่ง และการเจรจากับคู่การค้า 

และนี่เองก็เป็น กลยุทธ์ที่น่าสนใจเพียงส่วนหนึ่งของ จาง รุ่ย หมิงกับ ไฮเออร์ ในที่สุดเมื่อวันเวลาผ่านไป คนให้การยอมรับบริษัทไฮเออร์ก็ประสบความสำเร็จอย่างที่เห็นในปัจจุบัน     หวังว่าบทความนี้จะสร้างความรู้สึกที่ดีให้กับผู้อ่านทุกท่านในการสร้างสรรค์พลังใหม่ๆแก่ธุรกิจของไทยนะครับ        

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น