วันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น ฉบับเข้าใจง่าย

ความหมายของเศรษฐศาสตร์ 

           เศรษฐศาสตร์ หมายถึง  ศาสตร์ที่ว่าในเรื่องของการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีอยู่อย่างไม่จำกัด ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

รับรองไม่ว่าโรงเรียนหรือมหาลัย ถ้ามีเรียนเศรษศาสตร์ที่ไหน ต้องได้ตอบคำถามนี้แน่นอน ยืนยัน!!!

แขนงของเศรษฐศาสตร์

เศรษฐศาสตร์ สามารถ แบ่งได้เป็น 2 แขนงใหญ่ คือ  เศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศาสตร์มหภาค

เศรษฐศาสตร์จุลภาค คือ เป็นเรื่องราวทางเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวันหรือพูดอีกอย่างเป็นหน่วยย่อย อันได้แก่ เศรษฐกิจครัวเรื่อน  เช่น  บัญชีรายรับ-รายจ่าย ประจำครอบครัวเป็นต้น

เศรษฐศาสตร์มหภาค คือ เป็นเรื่องราวทางเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวกับระดับชาติ เป็นภาพรวมของประเทศ
อันได้แก่ รายได้ประชาชาติ  ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ

pic from technorati.com

หน่วยเศรษฐกิจ 


หน่วยเศรษฐกิจที่เป็นปัจจัยขับเคลื่อนแบ่งออกเป็น 3 ส่วน  คือ  ครัวเรือน,เอกชน,รัฐบาล

ครัวเรื่อน > เป็นหน่วยย่อยสุดในระบบเศรษฐกิจ โดยอาจจะเป็นผู้บริโภค คือ การไปจับจ่ายใช้สอยเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขต่างๆ และอาจจะเป็นผู้ผลิตสินค้า ไม่ว่าจะเป็น ผลผลิตทางการเกษตรหรือจะเป็นการขายของต่างๆ

เอกชน >  เป็นหน่วยเศรษฐกิจที่ใหญ่ขึ้นมา ทำหน้าที่ผลิตสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความพึงพอใจของผู้บริโภค

รัฐบาล >  เป็นหน่วยเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในประเทศมีหน้าที่บริหารประเทศ โดยมุ่งประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศและประชาชน


ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ คือ what,how,for whom 

What ผลิตอะไร

       เนื่องจากทรัพยากรบนโลกเรามีอยู่อย่างจำกัดดังนั้น ผู้ผลิตต้องมีการเลือกว่าจะผลิตอะไรเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าที่สุด 

How  ผลิตอย่างไร

        เมื่อได้สินค้าที่ต้องการผลิต เราก็จะต้องมาคัดสรรค์หนทางในการผลิตเพื่อลดการลงทุนแต่ดำรงไว้ซึ้งประสิทธิภาพ  เป้าหมายคือ ผลิตสินค้าให้มากที่สุด โดยใช้การลงทุนที่น้อยที่สุด

For whom  เพื่อใคร 

        สุดท้าย หัวข้อที่สำคัญไม่แพ้กัน หลังจากผลิตสินค้าเรียบร้อยแล้ว เราต้องมีกลุ่มคนเป้าหมายที่จะซื้อหรือใช้บริการ

หมายเหตุ รับรองได้เลยใครก็ตามที่กำลังเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์มาอ่านหน้านี้รับร้องทำข้อสอบได้ไม่ต่ำกว่า 5  ข้อ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น