วันเสาร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เงินฝืด-กับ-เงินเฟ้อ

                   สวัสดีครับพ่อเเม่พี่น้องชาว fmbusinesszone.blogspot.com แหม่หลังจากห่างหายไปพักใหญ่ ไม่ใช่อะไรครับ ไปเก็บตัวอ่านหนังสือสอบมา สัปดาห์นรกผ่านไปอย่างเชื่องช้าเเต่ว่ามันก็ผ่านไปแล้วครับ เอาละครับ นี่ก็ใกล้จะสิ้นปีกันแบบสุดๆแล้ว ก็เลยแวะมาอัพเดทบทความเกี่ยวกับเศรษศาสตร์ฝากแฟนคลับกันหน่อยนะครับ

                     หลายคน อาจจะเคยมีความสับสนกับคำว่าภาวะเงินฝืดกับภาวะเงินเฟ้อ แล้วบางทีบางครั้งอาจจะรู้สึกงงว่า เอ๊ะ ไอ้คำนี้แปลว่าอะไร กลายเป็นใช้ความหมายสลับกัน ในวันนี้ผมมีเทคนิคง่ายๆ เพื่อการจำและนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง

ภาวะเงินฝืด ภาษาอังกฤษกล่าวว่า Deflation

                   ลองสังเกตุคำนี้ให้ดีๆนะครับ เงินฝืด = เงินไม่ไหลลื่น = ไม่มีการใช้เงินจากผู้บริโภคนั่นเอง ส่งผลให้ระดับราคาสิ้นค้าลดลง

แล้วทำไมราคาสินค้าถึงลดลง ?

เพราะว่า เมื่อผู้บริโภคไม่เอาเงินมาใช้ซื้อของ  ของที่ขายก็ไม่มีคนซื้อ ผู้ผลิตต้องการระบายสินค้าออกจึงมีความจำเป็นต้องลดราคาเพื่อแลกกับการระบายสินค้า นั่นเองครับ

ผลเสียของสภาวะเงินฝืด คือ

สภาพคล่องการเงินในระบบย่ำแย่ ไม่มีเงินหมุนเวียนครับ โดยหากศึกษากันต่อไปจะมีหนทางแก้ไขโดยรัฐบาลต่อไปคือ การลดอัตรดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร + ลดอัตราเงินกู้เพื่อนำมาแก้ปัญหาสภาวะเงินฝืดนั่นเอง

ผลกระทบต่อชาวบ้านตาดำๆ คือ  เมื่อสินค้าขายไม่ได้ ผู้ประกอบการไม่มีกำไร จำเป็นต้องปลดพนักงานเพื่อรักษาความมั่นคงของบริษัทครับ

inflation-worry

http://westerntradition.wordpress.com

สภาวะเงินเฟ้อ ภาษาอังกฤษกล่าวว่า  Inflation

                     ลองสังเกตดีๆอีกครั้ง เงินเฟ้อ =  มีเงินเยอะมาก = ผู้คนนำเงินออกมาใช้เยอะเกินไป  ส่งผลให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าระดับราคาสินค้ามีเพิ่มมากขึ้น

แล้วทำไมราคาสินค้าถึงเพิ่มขึ้น ?

จากหลักการเรื่องเศรษฐศาสตร์ที่กล่าวถึง อุปสงค์(ความต้องการซื้อ) และ อุปทาน(ความต้องการขาย) เมื่อความต้องการซื้อมีมากขึ้นผู้ขายมีของอยู่อย่างจำกัด ก็จำเป็นต้องปรับราคาขึ้นเพื่อให้เกิดความสมดุลของ อุปสงค์และอุปทาน จากสภาวะเงินเฟ้อนั่นก็คือ การทีมีผู้ต้องการสินค้านั้นในปริมาณสูงจึงสามารถปรับราคาขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น  ใช่ช่วงน้ำมันปาล์มขาดแคลน ก็มีการปรับราคาน้ำมันปาล์มสูงขึ้น แต่มันเป็นสิ่งจำเป็นผู้บริโภคก็ต้องจำใจซื้อ

ผลเสียของสภาวะเงินเฟ้อ คือ

แน่นอน ระดับราคาสินค้าสูงขึ้นเกินความเป็นจริง อาจจะต้องมีการเข้ามาแทรกแซงจากรัฐบาล

ผู้เดือดร้อนจากเงินเฟ้อ คือ เหล่าประชาชนที่มีรายได้ประจำเดือน เพราะเงินจำนวนเท่าเดิมซื้อของได้น้อยลง ส่วนผู้ได้ประโยชน์คือ เหล่าพ่อค้า เพราะว่า ได้กำไรเพิ่มขึ้น

หากศึกษากันต่อไปวิธีการแก้ไขของรัฐบาลนั่น ก็คือ การดึงเงินออกจากระบบนั่นคือ เพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ให้ประชาชนเอาเงินไปฝากธนาคารมากขึ้น ลดประมาณการใช้จ่ายนั่นเอง แล้วราคาสินค้าจะลงมาเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น